วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2562

ปิโตรเลี่ยมและแก๊สธรรมชาติของขวัญจากโลก

 ปิโตรเลี่ยมและแก๊สธรรมชาติของขวัญจากโลก

          การถือกำเนิดของโลกเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4.5 พันล้านปีก่อนด้วยความเป็นไปได้จากหลายทฤษฎี โดยนักวิทยาศาตร์หลายๆท่านเช่น ทฤษฎีเนบิวลาโดยอิมมานูเอล คานท์ที่กล่าวไว้ว่า “สารที่เป็นต้นก าเนิดของ ดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์เป็นกลุ่มของเนบูลาซึ่งประกอบด้วยแก๊สและฝุ่นในท้องฟ้า ต่อมากลุ่มเนบูลาเหล่านี้ ได้หดตัวและเกิดการหมุนขึ้นอย่างช้าๆ ในระยะแรก และทวีความเร็วขึ้นในระยะหลัง
ทำให้เกิดจุดศูนย์กลาง และมีวงแหวนหมุนรอบจุด ศูนย์กลางได้มวลสารรวมกันเป็นดวงอาทิตย์ขึ้นตรงจุดศูนย์กลาง การหดตัว เนื่องจากแรงดึงดูดนี้ท าให้เกิดความร้อนขึ้น กลุ่มแก๊สแต่ละกลุ่ม แต่ละวงแหวนได้ก่อก าเนิดเป็นดาวเคราะห์ บริวารของดวงอาทิตย์ กรณีนี้โลกอายุเท่ากับดวงอาทิตย์”หลังจากนั้นไม่นานก็ได้มีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นตามมาก็คือ ประมาณ 5 ร้อยล้านปีก่อนซึ่งถือว่าโลกในยุคแรกเริ่มนั้นมีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก แต่แล้วทุกอย่างก็ต้องจบ ลงเนื่องจากมีเหตุการณ์ที่ถูกตั้งขอสันนิษฐานว่าเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่คือเหตุการณ์ การเพิ่มขึ้นและลดลงของน้ำทะเลครั้งใหญ่เนื่องจากการละลายของน้ำแข็งยักษ์ เหตุการณ์อุกกาบาตขนาด ใหญ่พุ่งชนโลก เหตุการณ์ภูเขาไฟใต้น้ำระเบิดครั้งใหญ่ ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตต่างพากันล้มตายจำนวนมาก เมื่อเวลา ผ่านไปซากเหล่านั้นได้เกิดการทับถมเป็นชั้นๆสะสมกันเรื่อยเป็นเวลาหลายร้อยล้านปีจนเกิดเป็นเชื้อเพลิงชนิด หนึ่งที่มนุษย์เรียกกันว่า “เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์”ซึ่งเป็นที่ยอมรับและน่าชื่อถือ
         ในปัจจุบันการคมนาคมและขนส่งนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาในชีวิตประจำวันและสิ่งที่ควบคู่กับการ คมนาคมก็คืออุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเลี่ยม อุตสาหกรรมน้ำมันและปิโตรเลี่ยมในปัจจุบันนั้นมีทั้งบนบก และกลางทะเลหรือมหาสมุทรซึ่งเป็นการขุดเจาะเพื่อหาเชื้อเพลิงที่ถูกทับถมอยู่ในพื้นดินมาเป็นเวลานานแล้ว นำมาผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการกลั่นและการแปรรูปเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์มาให้กันอย่างสะดวกสบายการ กลั่นเชื้อเพลิงปิโตรเลี่ยมที่ได้มานั้นมีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 8 อย่างคือ ยางมะตอย น้ำมันเตา น้ำมันหล่อลื่น น้ำมัน ดีเซล น้ำมันก๊าด แนฟทาหนัก แนฟทาเบา และแก๊สปิโตรเลี่ยม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่างกันโดยการ กลั่นที่น้ำมาใช้นั้นจะเป็นการกลั่นลำดับส่วนเนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดมีจุดเดือดที่ต่างกันท าให้ได้ ผลิตภัณฑ์ออกมาไม่พร้อมกันซึ่งเป็นไปตามหลักของการกลั่นลำดับส่วนที่ถูกต้อง

         คนส่วนใหญ่มักมีความเชื่อว่าในอนาคตเชื้อเพลิงปิโตรเลี่ยมจะหมดไปเพราะมีการนำออกมาใช้ เรื่อยๆและไม่สามารถผลิตทดแทนกลับได้แต่ความจริงๆแล้วเชื้อเพลิงปิโตรเลี่ยมจะไม่มีวันหมดไปจากโลก สาเหตุมาจากในการขุดเจาะแหล่งปิโตรเลี่ยมแต่ละแหล่งนั้น เชื้อเพลิงที่สามารถนำออกมาได้มีเพียง 45% เท่านั้นหรือถ้าเป็นแก๊สอาจจะนำออกมาได้มากสุดประมาณ 80% และสาเหตุที่สำคัญอีกหนึ่งสาเหตุคือการที่ ปัจจุบันมีการรณรงค์ให้มีการลดใช้น้ำมันเพื่อลดภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณปิโตรเลี่ยมที่ถูกนำมาใช้เฉลี่ยต่อปี ลดลงปริมาณมากปิโตรเลี่ยมทำให้ไม่สามารถหมดไปจากโลกนี้ได้ เหมือนกับคำพูดของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประสาท มีแต้มว่า “สมมุติว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลทั้งโลกมี 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะให้อุณหภูมิโลกไม่เกิน 2 องศา เซลเซียส นักวิทยาศาสตร์บอกว่าจะต้องนำเชื้อเพลิงเหล่านี้มาใช้แค่ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งจะใช้ได้อีก ประมาณไม่เกิน 20 ปี ที่เหลืออีก 80 เปอร์เซ็นต์ ต้องเก็บไว้ใต้ดิน”ทำให้น้ ามันมีใช้จ านวนมากกว่าความ ต้องการของพวกเราในปัจจุบัน



Credit : http://www.energynewscenter.com/wpcontent/uploads/2018/09/GraphicForAdver8Used.jpg
:https://www.scimath.org/images/stories/flexicontent/item_5267_field_43/l_slide91.jpg
               

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น